องค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย

Sangthonoi Subdistrict Administration Organization

คำแถลงนโยบายของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย


ออนไลน์ : 18

วิสัยทัศน์ผู้บริหาร

		“สร้างถ่อน้อยน่าอยู่ สู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” 

	“สร้างถ่อน้อยน่าอยู่” คือแนวคิดการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นให้เข้มแข็ง น่าอยู่ ปลอดภัย มีพัฒนาการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนทั้งภายในองค์กร ด้านการเมืองการบริหาร ด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนในท้องถิ่นอยู่ดีมีความสุข 

	“สู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน” คือการพัฒนาท้องถิ่นที่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาท้องถิ่นให้สามารถพึ่งตนเองได้ ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี การช่วยเหลือเกื้อกูล และความสามัคคี โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับหลักวิชาการในการพิจารณาวางแผนและขั้นตอน การปฏิบัติอย่างรอบคอบโดยตระหนักถึงคุณธรรมความซื่อสัตย์ สุจริต ใช้สติปัญญาและความเพียรในการดำเนินชีวิต 

	“ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” คือปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน องค์กร ในการพัฒนาให้ดาเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่างๆ ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชุมชนให้มีความสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา การดำเนินชีวิตพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีการดำรงชีวิตและปฏิบัติตนมุ่งเน้นการอยู่รอดปลอดภัย และวิกฤต สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา 

นโยบายการพัฒนาประกอบไปด้วย  8  ด้าน  ดังนี้  
	1. นโยบายการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน 
	1.1 ก่อสร้างปรับปรุงถนนดินให้เป็นถนนลูกรังสู่พื้นที่การเกษตร 
	1.2 ก่อสร้างปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงรักษาถนน สะพาน รางระบายน้ำ หรือพัฒนาเส้นทางคมนาคม ให้มีสภาพดี มีมาตรฐาน การสัญจรไปมามีความสะดวก-ปลอดภัยแก่ประชาชน และเพียงพอต่อความต้องการ พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอดแนวถนนทุกสาย 
	1.3 ขยายเขตจำหน่ายไฟฟ้าให้ทั่วถึงและได้มาตรฐานยิ่งขึ้น พัฒนาระบบการให้บริการด้านไฟฟ้าแสงสว่าง ไฟฟ้าสาธารณะภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้รวดเร็ว ทันต่อความต้องการ 
	1.4 ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบน้ำประปาเดิมให้ได้มาตรฐานมีคุณภาพ นำประปาใสสะอาดมีกำลังการผลิตอย่างพอเพียงและทั่วถึงกับผู้ใช้บริการ 
	2. นโยบายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 
	2.1 ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมกองทุนหรือกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลให้เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม 
	2.2 ส่งเสริม พัฒนา อบรมให้ความรู้กับกลุ่มอาชีพต่างๆ ให้มีศักยภาพ และมีทักษะในการประกอบอาชีพ สร้างชุมชนให้เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป 
	2.3 ส่งเสริม สนับสนุนอาชีพของประชาชนในท้องถิ่น ด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรมครัวเรือน ด้านหัตถกรรมสิ่งทอ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้า OTOP ที่ได้มาตรฐานยิ่งขึ้น เป็นการเพิ่มมูลค่าและเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
	2.4 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดทำเกษตรกรรม ตามแนวทฤษฏีใหม่ของพระบาทสมเด็จ            พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการเกษตร เป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีในการผลิต 
	3. นโยบายการพัฒนาด้านการศึกษา การกีฬาและนันทนาการ 
	3.1 ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาทางการศึกษาหรือจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญาอย่างเหมาะสมตามวัยเต็มตามศักยภาพ และมาตรฐานการศึกษา 
	3.2 ส่งเสริม สนับสนุนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 
	3.3 ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันครอบครัว ชุมชน องค์กร สถาบันศาสนา และองค์กรทางสังคมอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสถานศึกษา 
	3.4 ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ชุมชน ศูนย์การเรียนชุมชนให้ประชาชน เยาวชน ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา และเพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ ได้เรียนรู้เพิ่มเติม โดยมีจุดมุ่งหมายคือ 
	3.4.1 จัดให้มีห้องสมุดประจำตำบล หรือห้องสมุดประชาชน หรือที่อ่านหนังสือ 
	3.4.2 จัดให้มีศูนย์วัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น 
	3.4.3 จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพให้กับประชาชน 
	3.5 ส่งเสริม พัฒนาการศึกษา การกีฬาและนันทนาการให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชน ได้มีความรู้ประสบการณ์สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป 
	3.6 จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนด้านการจัดการให้มีและส่งเสริมการแข่งขันกีฬาทั้งภายใน ภายนอกชุมชน เพื่อแสดงถึงพลังความสามัคคีในชุมชน อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน ในวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ ที่เหมาะสม 
	3.7 ส่งเสริมพัฒนาบทบาทสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ 
	4. นโยบายการพัฒนาด้านการศาสนา วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี 
	4.1 ส่งเสริม บำรุงและอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป 
	4.2 ส่งเสริมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ให้กับเด็ก เยาวชน ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย
	5. นโยบายการพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต สังคมและชุมชน 
	5.1 เพิ่มมาตรฐานคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ตามหลัก ๓ อยู่ คือ อยู่ดีกินดี อยู่ดีมีสุข และอยู่รอดปลอดภัย 
	5.2 ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้รับเบี้ยยังชีพตามหลักเกณฑ์และนโยบายของรัฐบาลทุกคน 
	5.3 ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมของอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) รวมถึงมีการฝึกทบทวนการปฏิบัติงานเพื่อให้มีความพร้อม ความชำนาญและมีคุณภาพสู่มาตรฐาน 
	5.4 ส่งเสริม สนับสนุนด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงพัฒนาด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้ทันสมัย ครบถ้วน และเพียงพอพร้อมใช้งานป่องกันภัยได้ตลอดเวลา 
	5.5 พัฒนาความรู้ความสามารถ มีการฝึกทบทวนให้กับอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน     (อปพร.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความสามารถ ปฏิบัติงานจริงกับวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัยเป็นประจำ เพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 
	5.6 ป้องกันและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย เป็นต้น ตลอดจนการพื้นฟูเยียวยา 
	5.7 ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดให้โทษประเภทต่างๆ ในชุมชนโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม 

	6. นโยบายการพัฒนาด้านการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 
 	6.1 พัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)ให้ได้มาตรฐาน จัดชุดปฏิบัติการฉุกเฉินเบื้องต้น (FR) ไว้บริการประชาชน เพื่อช่วยเหลือประชาชนได้ทันท่วงที เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตอันเกิดจากอุบัติเหตุ หรือเจ็บป่วย 
	6.2 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ หรือในการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.) 
	6.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย ให้สะอาด สวยงาม ห่างไกลจากโรคภัย 
	6.4 รณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้ การดูแลสุขภาพ พลานามัยของประชาชน ให้สมบูรณ์ แข็งแรง ทุกกลุ่มอายุอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา 
	6.5 การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ เน้นให้มีกิจกรรมในการป้องกันโรค และควบคุมโรคต่างๆ ที่สามารถป้องกันได้และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมสถานการณ์ของโรคได้ในเบื้องต้น 
	6.6 ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพ โดยร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่ม อสม. องค์กร ประชาชนหรือชุมชน โดยใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย และหรือกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย โดยสนับสนุนกิจกรรมให้ครอบคลุมประชาชน ทุกกลุ่ม ทุกวัยทุกชุมชน 
	6.7 ส่งเสริมและปรับปรุงด้านการสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้ประกอบการทุกระดับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ให้เป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคในท้องถิ่น 
	6.8 ส่งเสริม หรือสนับสนุนกิจกรรมให้มีการรักษาความสะอาดของถนนหรือทางเดิน และที่สาธารณะ การกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลอย่างถูกวิธี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม เช่น การคัดแยกขยะ หรือนำมาขายให้กับธนาคารขยะชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย

	7. นโยบายการพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
	7.1 ส่งเสริม หรือ รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ แหล่งน้ำ 
	7.2 รณรงค์สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้รู้คุณค่าของพลังงาน ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกวิธีเพื่อลดปัญหาสภาวะโลกร้อน เรียนรู้วิธีการช่วยประหยัดพลังงาน การดาเนินกิจกรรมต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การลดสภาวะโลกร้อน 
	7.3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ สวนสาธารณะในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อยให้มีความร่มรื่น เหมาะแก่การออกกาลังกาย และการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ 
	7.4 ระวัง ป้องปรามการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยประสานความร่วมมือหรือสนับสนุนกิจกรรมป่าชุมชน 
	7.5 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ หรือในการดำเนินกิจกรรมของราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)
	7.6 ปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำ หรือ ปล่อยพันธุ์สัตว์ในแหล่งน้ำ

	8. นโยบายพัฒนาด้านการเมืองและการบริหาร 
	8.1 ส่งเสริมสนับสนุนชุมชนเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมหรือประชาธิปไตยในระดับชุมชน ทางการบริหารและการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พัฒนาการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย 
	8.2 ส่งเสริม และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน สนับสนุนให้มีกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ให้มีการทำงานร่วมกันระหว่างองค์กรกับชุมชนอย่างสมานฉันท์ เพื่อร่วมกันพัฒนาและยกระดับชุมชนให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน 
	8.3 ส่งเสริม หรือจัดทำผังเมือง 
	8.4 ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การจัดทำงบประมาณ รายจ่ายประจำปี การจัดซื้อ/จัดจ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ 
	8.5 สนับสนุน และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้มีความทันสมัย มีวัสดุ ครุภัณฑ์ครบถ้วนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ตอบสนองต่อการให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
	8.6 พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย ให้เป็นหน่วยงานที่ยึดหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี มีมาตรฐาน เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 
	8.7 การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ องค์ความรู้แก่บุคลากรในหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง พัฒนาทั้งทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านการศึกษา การฝึกอบรม การดูงานนอกสถานที่ เพื่อให้สามารถยกระดับความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะด้านภาษาและบุคคลเหล่านี้ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นของเรา 
	8.8 พัฒนา ปรับปรุงระบบหรือขั้นตอนการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล         สร้างถ่อน้อย ให้มีประสิทธิภาพ มีข้อมูลถูกต้องและเป็นปัจจุบัน โดยมีแผนที่ภาษีเข้ามาช่วยในการดำเนินการ 
	8.9 พัฒนา ปรับปรุง ระบบการบริการด้านการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารขององค์การบริหารส่วนตำบลสร้างถ่อน้อย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ประชาชนได้รับทราบ อย่างรวดเร็วทั่วถึง อีกทั้งจะพัฒนาระบบการบริการสาธารณะที่ดีมีมาตรฐาน ลดขั้นตอนการปฏิบัติให้มีความรวดเร็ว สามารถสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างตรงเป้าหมาย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและชุมชนให้มากที่สุด 
View : 2277
Facebook Chat